เมื่อเดินทางมาถึงเดือนมิถุนายน หลายคนอาจได้เห็นเทศกาล Pride Month หรือเทศกาลไพรด์จัดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศในทุกๆ ปี โดยมีทั้งการเดินพาเหรด การแสดง และจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย ซึ่งปี 2567 ก็นับอีกหนึ่งปีที่สำคัญสำหรับชาว LGBTQIAN+ ในไทย เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1448 หรือ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วนั่นเอง เพื่อเฉลิมฉลองความเท่าเทียมทางเพศ มาย้อนความดูกันว่า Pride Month คืออะไร? มีต้นกำเนิดมาจากไหน? แล้วธงสีรุ้งนั้นมีความหมายว่าอย่างไร? Pride Month คืออะไร? การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมของเพศที่สามอย่าง เกย์ เลสเบี้ยน และเพศทางเลือกอื่นๆ นั้นมีประวัติยาวนานหลายยุคหลายสมัยในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรปและอเมริกาในยุค 1960s ที่สังคมยังไม่เปิดรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ส่งผลให้มีการปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วยความไม่เป็นธรรม หลายคนต้องปิดบังตัวตนของตัวเอง ถูกเลือกปฏิบัติ หรือแม้กระทั่งจะถูกไล่ออกจากบ้านของตน โดยจุดเริ่มต้นของ Pride Month คือ เหตุจลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) เมื่อปี 1969 โดยในขณะนั้น …
เมื่อเดินทางมาถึงเดือนมิถุนายน หลายคนอาจได้เห็นเทศกาล Pride Month หรือเทศกาลไพรด์จัดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก รวมถึงประเทศไทยที่มีการจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศในทุกๆ ปี โดยมีทั้งการเดินพาเหรด การแสดง และจัดกิจกรรมต่างๆ มากมาย ซึ่งปี 2567 ก็นับอีกหนึ่งปีที่สำคัญสำหรับชาว LGBTQIAN+ ในไทย เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 1448 หรือ ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วนั่นเอง
เพื่อเฉลิมฉลองความเท่าเทียมทางเพศ มาย้อนความดูกันว่า Pride Month คืออะไร? มีต้นกำเนิดมาจากไหน? แล้วธงสีรุ้งนั้นมีความหมายว่าอย่างไร?
Pride Month คืออะไร?
การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมของเพศที่สามอย่าง เกย์ เลสเบี้ยน และเพศทางเลือกอื่นๆ นั้นมีประวัติยาวนานหลายยุคหลายสมัยในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศแถบยุโรปและอเมริกาในยุค 1960s ที่สังคมยังไม่เปิดรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ ส่งผลให้มีการปฏิบัติต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศด้วยความไม่เป็นธรรม หลายคนต้องปิดบังตัวตนของตัวเอง ถูกเลือกปฏิบัติ หรือแม้กระทั่งจะถูกไล่ออกจากบ้านของตน
โดยจุดเริ่มต้นของ Pride Month คือ เหตุจลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) เมื่อปี 1969 โดยในขณะนั้น “บาร์เกย์” อย่าง Stonewall Inn ในนครนิวยอร์ก ถูกตำรวจตรวจค้นบาร์ แต่มีการเลือกปฏิบัติและจับกุมผู้ใช้บริการที่เป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ ทั้งทรานส์ เกย์ และอื่นๆ ในคืนของวันที่ 28 มิถุนายน 1969 อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้นไม่ยอมจึงขัดขืนต่อการเลือกปฏิบัติ จนสุดท้ายเหตุการณ์บานปลายจนตำรวจต้องใช้ความรุนแรงในการปราบปราม ต่อมา เหตุจลาจลดังกล่าวได้กลายมาเป็นชนวนสำคัญที่กระตุ้นให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียม โดยมีผู้เข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การเดินขบวนประท้วง เดินพาเหรด และมีการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่สื่อถึง “Pride” หรือความภาคภูมิใจในตัวเอง ซึ่งได้ขยายไปยังเมืองอื่นในสหรัฐ และกระจายไปทั่วโลก
เหตุจลาจลสโตนวอลล์ ทำให้วันที่ 28 มิถุนายนของทุกปีกลายเป็นวันที่โลกร่วมรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งขยายออกไปในวงกว้างจนกลายเป็นการเรียกร้องต่อเนื่องยาวนานตลอดเดือน และกลายเป็น Pride Month ที่เรารู้จักกันในที่สุด
LGBTQIAN+ เพศวิถีอันหลากหลายในปัจจุบัน
คำว่า LGBTQIAN+ เป็นคำที่หลายคนคุ้นเคยกันในปัจจุบัน โดยจริงๆ แล้วอักษรแต่ละตัวนั้นเป็นคำย่อของเพศวิถีที่หลากหลาย ซึ่ง + สื่อถึงความหลากหลายทางเพศ โดยคำย่อแต่ละคำมีความหมายดังนี้
- L – Lesbian: เลสเบี้ยน หมายถึง ผู้หญิงที่ชื่นชอบผู้หญิงด้วยกัน
- G – Gay: เกย์ คือ บุคคลที่ชื่นชอบบุคคลที่มีเพศและรสนิยมทางเพศตรงกับตนเอง ซึ่งในสังคมไทย มักหมายถึงผู้ชายที่ชื่นชอบผู้ชายด้วยกัน แต่จริงๆ แล้วจะเป็นเพศใดก็ได้
- B – Bisexual: ผู้ที่ชื่นชอบทั้งเพศเดียวกันและเพศตรงข้าม
- T – Transgender: ผู้ข้ามเพศ คือ คนที่มีเพศสภาพและเพศกำเนิดไม่สอดคล้องกัน รวมถึงผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดแปลงเพศ
- Q – Queer: เควียร์ คือ คำนิยามกว้างๆ ของผู้ที่ไม่มีกรอบที่กำหนดเรื่องเพศ หรือก็คือ มีเพศลื่นไหล ไม่ได้จำกัดกรอบว่าตนจะต้องชอบเพศไหน
- I – Intersex: ผู้ที่ไม่สามารถระบุเพศของตัวเองได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีทั้งคนที่เกิดมามีอวัยวะสืบพันธุ์ของทั้งสองเพศ ปริมาณฮอร์โมนหรือโครโมโซมเพศที่ผิดปกติ หรือแม้กระทั่งลักษณะด้านอื่นที่ค่อยๆ ปรากฏเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ทั้งนี้ ชาวอินเตอร์เซ็กส์ก็สามารถมีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายได้เหมือนบุคคลทั่วไป
- A – Asexual: คือ ผู้ที่ไม่ฝักใฝ่ทางเพศ ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศต่อบุคคลอื่น
- N – Non-Binary: หมายถึงอัตลักษณ์ทางเพศหรือการแสดงออกทางเพศที่นอกเหนือการจัดหมวดหมู่ชาย-หญิงทั่วไป
ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ของความหลากหลายทางเพศ
ธงสีรุ้ง อันสดใสที่เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ประจำ Pride Month นั้นถูกออกแบบขึ้นเมื่อปี 1978 โดย กิลเบิร์ต เบเกอร์ (Gilbert Baker) ศิลปินชาวอเมริกันและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของเกย์ โดยแรกเริ่มธงนี้มีด้วยกันทั้งหมด 8 สี ได้แก่
- สีชมพู (Hot Pink) หมายถึง เพศ
- สีแดง หมายถึง ชีวิต
- สีส้ม หมายถึง การเยียวยา
- สีเหลือง หมายถึง แสงอาทิตย์
- สีเขียว หมายถึง ธรรมชาติ
- สีฟ้า (Turquoise) หมายถึง เวทมนตร์และศิลปะ
- สีน้ำเงินม่วง หมายถึง ความสามัคคี
- สีม่วง หมายถึง จิตวิญญาณอันแน่วแน่ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ
ซึ่งธงสีรุ้งนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของชาว LGBTQIAN+ ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 1978 แม้ต่อมาจะมีการลดจำนวนสีลงเหลือ 6 สี โดยตัดสีชมพู Hot Pink และสีฟ้า Turquoise ออก เนื่องจากเป็นสีที่ยากต่อการผลิต แต่อย่างไรก็ตาม ความภาคภูมิใจของชาว LGBTQIAN+ ยังคงอยู่เหมือนเช่นเคย
สร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง เป็นตัวเองในแบบที่ต้องการกับเมดคอนซัลท์คลินิก
ไม่ว่าคุณจะเป็น LGBTQIAN+ ที่กำลังฉลอง Pride Month หรือเพศไหนๆ ก็สามารถเป็นตัวเอง เปิดเผยตัวตนได้อย่างภาคภูมิใจ เพราะที่เมดคอนซัลท์คลินิก (MedConsult Clinic) เราพร้อมสนับสนุน ดูแลเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมอย่างครบวงจร ตั้งแต่บริการให้คำปรึกษา ตรวจสุขภาพทั่วไป การฉีดวัคซีน สุขภาพจิต สุขภาพทางเพศ รวมไปถึงบริการเสริมความงามอย่าง โปรแกรม Weight Loss ลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย การฉีดโบท็อกซ์ ร้อยไหม ฟิลเลอร์ และอื่นๆ อีกมากมาย
เรามีแนวทางการดูแลรักษาสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Approach) ซึ่งมีการปรับแผนการรักษาให้เหมาะสมกับความต้องการและเป้าหมายของคนไข้โดยเฉพาะ ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอน ไปจนถึงการดูแลหลังการรักษา เพื่อทุกท่านมั่นใจได้ถึงผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
ติดต่อเรา
- โทร: +66 61-171-1000
- อีเมล: customer@medconsultasia.com
- LINE: @medconsultclinic
- WhatsApp: Medconsult Customer Service
- WeChat: DrDonnaRobinson